คณะกรรมการประกวดพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) เข้าตรวจประเมินศูนย์พัฒนาทักษะ ทางวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต คณะวิศวกรรมศาสตร์

image

คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต บัวกล้า รองคณบดีฝ่ายบริหารและกิจการพิเศษ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอราวิล ถาวร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธิ์ธนนท์ พงษ์พานิช หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการวิศวกรรม ร่วมต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมด้วยคณะกรรมการกองบริหารงานวิจัยในการตรวจเยี่ยม (Site Visit) การประกวดรางวัลพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์พัฒนาทักษะทางวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต คณะวิศวกรรมศาสตร์

ศูนย์พัฒนาทักษะสำหรับอาชีพวิศวกรรม (Development Center for Professional Engineering) เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานหลักของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Research and Academic Service Center of Engineering) หรือ “RACE” ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิศวกรรมในระดับมืออาชีพ โดยจะมุ่งเน้นให้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหรือสายงานที่ต้องการพัฒนา โดยผู้ที่ได้รับการพัฒนาจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานหรือการทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อให้การพัฒนาทักษะตรงตามความต้องการของชุมชนและประเทศ โดยจัดเป็นหลักสูตรสำหรับพัฒนากำลังคน (Up-Re-New Skill) ซึ่งมีทั้งด้านวิศวกรรม (รับรองมาตรฐานโดยสภาวิศวกร) และทักษะอื่นร่วมด้วย โดยพื้นที่การเรียนรู้แบ่งเป็น 4 แห่ง ดังนี้

[1] พื้นที่การเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติ (Automated Manufacturing Technology) สอนตั้งแต่การผลิตขั้นพื้นฐาน เช่น งานกลึง งานกัด งานเชื่อม การใช้เครื่องมือช่างพื้นฐาน เป็นต้นไปจนกระทั่งการผลิตชิ้นงานอัตโนมัติด้วยเครื่องจักร CNC เช่น การเขียนคำสั่งใช้งานเครื่อง CNC การเขียน CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม และการใช้งานเครื่อง CNC

 

[2] พื้นที่การเรียนรู้เทคโนโลยีระบบควบคุมอัจฉริยะ (Intelligent Control System Technology) สอนเกี่ยวกับพื้นฐานการออกแบบระบบการควบคุมอัจฉริยะ เช่น ระบบพีแอลซีและนิวเมตริกส์ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) เทคโนโลยีเซนเซอร์และระบบควบคุม เทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ 4.0 เป็นต้น

 

[3] พื้นที่การเรียนรู้เทคโนโลยีงานก่อสร้างสมัยใหม่ (Modern Construction Technology) สอนเกี่ยวกับการออกแบบอาคารด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Model) หรือแบบจำลองข้อมูลอาคารแบบดิจิทัล เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) การพัฒนาทักษะและความรู้งานระบบในอาคาร เป็นต้น

 

[4] พื้นที่การเรียนรู้เทคโนโลยีวิศวกรรมสำหรับผู้ประกอบการสมัยใหม่ (Engineering Technology for Modern Entrepreneur) สอนเกี่ยวกับพื้นฐานการบริหารองค์กรด้วยข้อมูล (Data Driven Management) เช่น สเปรตชีทเบื้องต้น พื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นด้วย Power BI การพัฒนาทักษะระบบสารสนเทศเพื่อบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) การปรับปรุงผลิตภาพในธุรกิจการบริการ และการสร้างแนวคิดการบริหารองค์กรด้วยบอร์ดเกมส์ เป็นต้น


วันที่ 7 กันยายน 2566 โดย supatra.ch@up.ac.th อ่าน 630